Smart farming
for precision agriculture
Smart Farming สำหรับเกษตรกลางแจ้ง
• เกษตรกรสามารถวางแผนการเพาะปลูกและทำการเกษตรได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้นเนื่องจากมีข้อมูลสภาพปัจจัยการเพาะปลูกในไร่ทั้งแบบเรียล-ไทม์ และแบบย้อนหลัง
• การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสภาพปัจจัยการเพาะปลูกสามารถช่วยเกษตรกรในการลดต้นทุนทั้งในด้านแรงงาน น้ำ ปุ๋ย สารเคมีและยาฆ่าแมลง
• ช่วยเกษตรกรในการประหยัดเวลาและสามารถบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถเข้าใจลักษณะสภาพภูมิอากาศในไร่ของตนได้อย่างถูกต้อง
• ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลพืชและลดความเสี่ยงหรือความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์
• เกษตรกรสามารถนำข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อสร้างโมเดลหรือสูตรในการปลูกพืชแต่ละชนิดได้ นอกจากนี้ยังใช้ในการสร้างโมเดลการเกิดโรค และแมลงในพืชได้อีกด้วย
• เกษตรกรสามารถใช้โดรนในการทำแผนที่ไร่ ทำให้มองเห็นลักษณะทางกายภาพของไร่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้โดรนในการทำแผนที่ความอุดมสมบูรณ์ของพืช เพื่อใช้ในการบริหารจัดการดูแลพืชให้ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้นได้
ประโยชน์
Smart Farming สำหรับเกษตรในร่ม
ประโยชน์
• สามารถแสดงผลข้อมูลสภาพปัจจัยการเพาะปลูกแบบเรียลไทม์ โดยผู้ใช้สามารถเลือก ดูข้อมูลต่าง ๆเพื่อใช้ในการวางแผนกิจกรรมทางการเกษตรได้ เช่น การรดน้ำ การใส่ปุ๋ย การระบายความร้อนในโรงเรือน การให้แสงพืช เป็นต้น
• มีฟังก์ชันการพยากรณ์อากาศโดยสามารถพยากรณ์อากาศล่วงหน้าได้สูงสุด 12 ชั่วโมง โดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศภายในไร่มาคำนวณทำให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น ทำให้เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลร่วมกับข้อมูลสภาพปัจจัยการเพาะปลูกแบบเรียลไทม์ในการวางแผนกิจกรรมทางการเกษตรได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
• มีระบบบันทึกข้อมูลสภาพอากาศลงในฐานข้อมูลบนคอมพิวเตอร์แบบอัตโนมัติ สามารถเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน และภายนอกโรงเรือนเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังได้
• มีฟังก์ชันอัพโหลดข้อมูลขึ้นบนเว็บไซต์แบบอัตโนมัติ (ในกรณีที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต) ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลในโรงเรือนได้ทุกที่ทุกเวลา
• สามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังโดยแสดงผลในรูปแบบของกราฟต่าง ๆ และสามารถเซฟกราฟข้อมูลต่าง ๆ เป็นไฟล์รูปภาพได้
• สามารถเซฟข้อมูลย้อนหลังเป็นไฟล์ .txt เพื่อนำไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมอื่นได้
• ระบบการให้แสงแดดเทียม ช่วยให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีสม่ำเสมอในทุกฤดูกาล โดยเฉาพอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน และ ฤดูหนาว ที่มีแสงแดดน้อย
• เซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพน้ำ และสารอาหารสำหรับระบบ Hydroponic ช่วยให้เกษตรกรสามารถควบคุมคุณภาพของน้ำ และปุ๋ยได้เหมาะสมกับความต้องการของพืช
• ระบบการให้สารอาหารแก่พืชอัตโนมัติสำหรับระบบ Hydroponic ช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนทางด้านแรงงานของเกษตรกร
• เกษตรกรสามารถบริหารจัดการ และควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยใช้ข้อมูลจากเซนเซอร์ชนิดต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรือน
Smart Farming สำหรับเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ประโยชน์
• เป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถติดตามความเป็นไป ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ และคุณภาพของน้ำในฟาร์มทำให้สามารถรู้เท่าทันความเป็นไป และสามารถบริหารจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยง ทำให้ได้ผลผลิตที่สม่ำเสมอและสามารถคาดการณ์ได้ ช่วยลดการสูญเสียก่อนที่จะเกิดขึ้น (ด้วยฟังก์ชั่นการเตือนภัย)
• ข้อมูลที่เก็บได้จากเซนเซอร์ต่างๆ จะเป็นข้อมูล Big Data ที่สามารถนำไปใช้พัฒนาโมเดลการเพาะเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพ ช่วยทำให้เกษตรกรลดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านพลังงาน ต้นทุนด้านอาหาร และลดความเสียหายได้
• เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานให้ผู้ใช้เป็นอย่างมาก โดยการแทนที่เทคโนโลยีเดิมที่ต้องเก็บตัวอย่างน้ำมาวิเคราะห์ ซึ่งมีความเสี่ยงที่ตัวอย่างน้ำจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยการตรวจวัดน้ำแบบออนไลน์ และ เรียลไทม์ ณ จุดที่สนใจด้วย
Smart Farming สำหรับเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ประโยชน์
• สามารถติดตามข้อมูลพิกัด GPS ของสัตว์และ กิจกรรมต่างๆ ของสัตว์ทั้งกลางวันและกลางคืน
• สามารถติดตามการเคลื่อนที่ และรู้ได้ว่าสัตว์ชอบเดินไปตรงจุดไหนมากที่สุด เพื่อศึกษาพฤติกรรมสัตว์
• สามารถใช้คำนวณจำนวนการเดินของสัตว์ เพื่อใช้ในการคำนวณปริมาณพลังงานที่สัตว์ใช้ในแต่ละวัน
• สามารถนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาวิเคราะห์ย้อนหลังเพื่อดูความสัมพันธ์ต่างๆ เช่น
- พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของสัตว์ในไร่
- วิเคราะห์พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของสัตว์เพื่อพยากรณ์การเข้าสู่ ช่วงผสมพันธ์ การตกไข่ หรือการคลอดลูก เป็นต้น
- สร้างโมเดลการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่
- ติดตามเส้นทางการเดินของสัตว์และรายงานผลในรูปแบบของกราฟ ผ่านทางโปรแกรมแสดงผลบนเว็บไซต์หรือบนมือถือ
• สามารถแจ้งเตือนผู้ใช้ในกรณีที่สัตว์เลี้ยงออกจากบริเวณที่กำหนด
• สามารถตรวจวัดกลิ่นทั้งภายในและภายนอกโรงเรือนเพื่อช่วยในการบริหารจัดการปัญหาเรื่องกลิ่นที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนแวดล้อมโดยรอบ